วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553


แผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่ที่รวมเอาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญๆมาไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุม การทำงานของ อุปกรณ์ต่างๆ ภายในพีชีทั้งหมด มีลักษณะเป็นแผ่น รูปร่างสี่เหลี่ยมแผ่นที่ใหญ่ที่สุดในพีชี ที่จะรวบรวมเอาชิปและไอชี (IC = Integrated Circuit) รวมทั้ง การ์ดต่อพ่วงอื่นๆ เอาไว้ด้วยกันบนบอร์ดเพียงอันเดียวเครื่องพีชีทุกเครื่องไม่สามารถทำงาน ได้ถ้าขาดเมนบอร์ด
การ์ดแสดงผลใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่ได้รับมาจากซีพียู โดยที่การ์ดบางรุ่นสามารถประมวลผลได้ในตัวการ์ด ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระการประมวลผลให้ซีพียู จึงทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นเร็วขึ้นด้วย ซึ่งตัวการ์ดแสดงผลนั้นจะมีหน่วยความจำในตัวของมันเอง ถ้าตัวการ์ดมีหน่วยความจำมาก ก็จะรับข้อมูลจากซีพียูได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพมีความเร็วสูงขึ้นด้วย



Display Card หลักกันทำงานพื้นฐานของการ์ดแสดงผลจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อโปรแกรมต่างๆ ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ ซีพียูเมื่อซีพียูประมวลผล เสร็จแล้ว ก็จะส่งข้อมูลที่จะนำมาแสดงผลบนจอภาพมาที่การ์ดแสดงผล จากนั้น การ์ดแสดงผล ก็จะส่งข้อมูลนี้มาที่จอภาพ ตามข้อมูลที่ได้รับมา การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาส่วนใหญ่ ก็จะมีวงจร ในการเร่งความเร็วการแสดงผลภาพสามมิติ และมีหน่วยความจำมาให้มากพอสมควร

เป็นไดรฟ์สำหรับอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอม หรือดีวีดีรอม ซึ่งถ้าหากต้องการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นจะต้องใช้ไดรฟ์ที่สามารถเขียนแผ่นได้คือ CD-RW หรือ DVD-RW โดยความเร็วของ ซีดีรอมจะเรียกเป็น X เช่น 16X , 32X หรือ 52X โดยจะมี Interface เดียวกับ Harddisk





การทำงานของ CD-ROM ภายในซีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอมจะมีขนาดเท่ากัน ทุกเซ็กเตอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น เมื่อไดรฟ์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความเร็ว หลายค่า ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็กเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ ที่อยู่รอบนอกกรือวงในก็ตาม จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ ที่ผิวหน้าของซีดีรอมจะเป็น หลุมเป็นบ่อ ส่วนที่เป็นหลุมลงไปเรียก "แลนด์" สำหรับบริเวณที่ไม่มีการเจาะลึกลงไปเรียก "พิต" ผิวสองรูปแบบนี้เราใช้แทนการเก็บข้อมูลในรูปแบบของ 1 และ 0 แสงเมื่อถูกพิตจะกระจายไปไม่สะท้อนกลับ แต่เมื่อแสงถูกเลนส์จะสะท้อนกลับผ่านแท่งปริซึม จากนั้นหักเหผ่านแท่งปริซึมไปยังตัวตรวจจับแสงอีกที ทุกๆช่วงของลำแสงที่กระทบตัวตรวจจับแสงจะกำเนิดแรงดันไฟฟ้า หรือเกิด 1 และ 0 ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ส่วนการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีรอมนั้นต้องใช้แสงเลเซอร์เช่นกัน โดยมีลำแสงเลเซอร์จากหัวบันทึกของเครื่อง บันทึกข้อมูลส่องไปกระทบพื้นผิวหน้าของแผ่น ถ้าส่องไปกระทบบริเวณใดจะทำให้บริเวณนั้นเป็นหลุมขนาดเล็ก บริเวณทีไม่ถูกบันทึกจะมีลักษณะเป็นพื้นเรียบสลับกันไปเรื่อยๆตลอดทั้งแผ่น


เป็นอุปกรณ์ที่กำเนิดมาก่อนยุคของพีซีเสียอีก โดยเริ่มจากที่มีขนาด 8 นิ้ว กลายมาเป็น 5.25 นิ้ว จนมาถึงปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 3.5 นิ้ว ในส่วนของความจุเริ่มต้นตั้งแต่ไม่กี่ร้อยกิโลไบต์มาเป็น 1.44 เมกะไบต์ และ 2.88 เมกะไบต์ ตามลำดับ
ในปัจจุบันการใช้งานฟล็อปปี้ดิสก์นั้นน้อยลงไปมากเพราะ เนื่องจากจุข้อมูลได้น้อยซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องการ แต่ฟล็อปปี้ดิสก์ก็ยังคงเป็นมาตรฐานหนึ่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องมี การพัฒนาฟล็อปปี้ดิสก์ก็ไม่ได้หยุดยั้งไปเสียทีเดียว ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ระบบ Optical ทำให้สามารถขยายความจุไปได้ถึง 120 เมกะไบต์ต่อแผ่น





RAM ย่อมาจากคำว่า Random-Access Memory เป็นหน่วยความจำหลักแต่ไม่ถาวร ซึ่งจะต้องมีไฟมาหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ตลอดในการทำงาน โดยถ้าเกิดไฟฟ้ากระพริบหรือดับ ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจำจะหายไปทันที
โดยหลักการทำงานคร่าวๆ ของแรมนั้นเริ่มต้นที่รับข้อมูลจากผู้ใช้ผ่านอุปกรณ์ Input จากนั้นก็จะส่งข้อมูลไปยัง CPU ในการประมวลผล เมื่อ CPU ประมวลผลเสร็จแล้ว แรมจะรับข้อมูลที่ได้รับการประมวลผลแล้ว ออกไปยังอุปกรณ์ Output ต่อไป โดยหน่วยความจำแรมที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายชนิด เช่น SDRAM, DDR-RAM, RDRAM





อุปกรณ์รับข้อมูลที่นิยมรองจากคีย์บอร์ด เมาส์จะช่วยในการบ่งชี้ตำแหน่งว่าขณะนี้กำลังอยู่ ณ จุดใดบนจอภาพ เรียกว่า "ตัวชี้ตำแหน่ง (Pointer)" ซึ่งอาศัยการเลื่อนเมาส์ แทนการกดปุ่มบังคับทิศทางบนคีย์บอร์ด


เคส คือ โครงหรือกล่องสำหรับประกอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ไว้ภายใน การเรียกชื่อ และขนาด ของเคสจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งในปัจจุบันมีหลายแบบที่นิยมกัน แล้วแต่ผู้ซื้อจะเลือกซื้อตามความเหมาะสม ของงาน และสถานที่นั้นเคส คือ โครงหรือกล่องสำหรับประกอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ไว้ภายใน การเรียกชื่อ และขนาด ของเคสจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งในปัจจุบันมีหลายแบบที่นิยมกัน แล้วแต่ผู้ซื้อจะเลือกซื้อตามความเหมาะสม ของงาน และสถานที่นั้น


จอซีอาร์ที (CRT : Cathode Ray Tube) โดยมากจะพบในคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ซึ่งลักษณะ จอภาพชนิดนี้จะคล้ายโทรทัศน์ ซึ่งจะใช้หลอดสุญญากาศ



จอแบบ CRT
การทำงานของจอประเภทนี้จะทำงานโดย อาศัยหลอดภาพ ที่สร้างภาพโดยการยิงลำแสงอิเล็กตรอนไปยังที่ผิวหน้าจอ ที่มีสารพวกสารประกอบของฟอสฟอรัส ฉาบอยู่ที่ผิว ซึ่งจะเกิดภาพขึ้นมาเมื่อสารเหล่านี้เกิดการเรืองแสงขึ้นมา เมื่อมีอิเล็กตรอนมากระทบ ซึ่งในส่วยของจอแบบ Shadow Mask นั้น จะมีการนำโลหะที่มีรูเล็กๆ มาใช้ในการกำหนดให้แสงอิเล็กตรอนนั้นยิงมาได้ถูกต้อง และแม่นยำ ซึ่งระยะห่างระหว่างรูนี้เราเรียกกันว่า Dot Pitch ซึ่งในรูนี้จะมีสารประกอบของฟอสฟอรัสวางเรียงกันอยู่เป็น 3 จุด 3 มุม โดยแต่ละจุดจะเป็นสีของแม่สีนั้นก็คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ซึ่งแต่ละจุดนี้เราเรียกว่า Triad ในส่วนของจอแบบ Trinitron นั้นจะมีการทำงานที่เหมือนกันแต่ต่างกันที่ ไม่ได้ใช้โลหะเป็นรูแต่จะใช้ โลหะที่เป็นเส้นเล็กๆ ขึงพาดไปตาม แนวตั้ง เพื่อที่จะให้อิเล็คตรอนนั้นตกกระทบกับผิวจอที่มีสารประกอบของฟอสฟอรัสได้มากขึ้น สำหรับจอ Trinitron ในปัจจุบันนี่ได้มีการพัฒนาให้มีความแบนราบมากขึ้นซึ่งจอแบบนี้จะเรียกกันว่า FD Trinitron (Flat Display Trinitron) ซึ่งมีมากมายในปัจจุบันและจะเข้ามาแทนที่จะแบบเดิมๆ อีกทั้งราคายังถูกลงเป็นอย่างมากด้วย


วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2553


ซีพียูหรือหน่วยประมวลผลกลาง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลจากข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ 1) หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit: ALU) หน่วยคำนวณตรรกะ ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำงานเกี่ยวกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร อีกทั้งยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องคำนวณธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือ เท็จ ได้ 2) หน่วยควบคุม (Control Unit) หน่วยควบคุม ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการประมวลผล รวมไปถึงการประสานงานกับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย ซีพียูที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ได้แก่ Pentium III , Pentium 4 , Pentium M (Centrino) , Celeron , Dulon , Athlon




วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553


Flash Drive

Flash Drive (หรือที่หลายคนเรียก Handy Drive, Thumb Drive, USB Drive) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือไฟล์จากคอมพิวเตอร์ มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา สะดวกในการพกพาติดตัว แต่ในขณะเดียวกันมีความจุสูง สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมากตั้งแต่ 128 MB ถึง 4 GB และขนาดความจุข้อมูลก็ได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆFlash Drive เป็นอุปกรณ์นวัตกรรม IT ที่ในอนาคตทุกคนจะต้องมีและใช้ในชีวิตประจำวันอยู่ตลอดเวลา เพราะมีคุณสมบัติที่โดดเด่นตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน และมีประโยชน์ที่สำคัญที่สุดคือ: • ความจุข้อมูลสูง ตั้งแต่ 128 MB ถึง 4 GB • ใช้เก็บข้อมูลได้ทุกประเภท ทั้งไฟล์ข้อมูล, เอกสาร, พรีเซ็นเตชั่นสไลด์, เพลง MP3, รูปภาพดิจิตอล, วีดีโอ, และอื่นๆ • สามารถใช้ได้ทันทีกับคอมพิวเตอร์และโน็ตบุ๊ค ทุกเครื่องทุกระบบ • สามารถใช้ได้กับ Windows, Linux, Apple iMac, Apple iBook • สะดวกในการใช้งาน เพียงแค่เสียบ Flash Drive เข้าช่องต่อ USB • ใช้งานง่าย คุณสามารถทำการเขียน/อ่าน/ลบ/แก้ไข ข้อมูลในนั้นได้โดยตรงเหมือนกับฮาร์ดดิสไดร์ฟปกติ • มีความทนทานสูง ทั้งภายในและภายนอก • เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่สร้างจากเทคโนโลยีที่มีความทนทานสูงที่สุดในปัจจุบัน Solid-State Storage Technology • เวลาใช้งาน ข้อมูลของคุณจะปลอดภัยไม่ว่าจะเกิดการตกหล่น กระแทก หรือขูดขีด • มีขนาดเล็ก บาง เบา สามารถพกติดตัวได้สะดวก • ใช้เล่นเพลง MP3 ได้ (เฉพาะรุ่นที่มี MP3 Player)


วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553

แผนยุทธศาสตร์ 3D

กรอบแนวคิด การจัดการศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนกระบวนการจัดการศึกษาที่สมบูรณ์จึงเปรียบเสมือนเหรียญสองด้าน คือด้านหนึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนและจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษาแต่ละช่วงชั้น เพื่อสร้างองค์ความรู้ กระบวนการคิดวิเคราะห์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ มีทักษะการดำรงชีวิตที่เกิดจากการฝึกหัดสามารถใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาตนเองและประกอบอาชีพอีกด้านหนึ่ง คือเป็นการบ่มเพราะ กล่อมเกลา ปลูกฝัง และปลุกจิตสำนึก เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม เกิดความตระหนักในบทบาทหน้าที่ขึ้นในจิตใจ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถดำรงตนอยู่ในสังคมร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข สถานศึกษาทุกระดับ ทุกสังกัดและหน่วยงานต่างๆ ที่มีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน และร่วมจัดการศึกษาจึงมีส่วนสำคัญในการจัดการเรียนการสอน และจัดกิจกรรมที่จะส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาผู้เรียนอย่างเหมาะสม โดยการประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นภารกิจทั้ง 3 ด้าน (3D) ได้แก่ ด้านประชาธิปไตย(Democracy) ด้านคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นไทย (Decency) และด้านภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด (Drug-Free)
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน 1.ด้านประชาธิปไตย (Democracy) มีความตระหนัก เห็นความสำคัญศรัทธา และเชื่อมั่นการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมทั้งรังเกียจการทุจริต และต่อต้านการซื้อสิทธิขายเสียง 2.ด้านคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นไทย (Decency) มีคุณธรรมจริยธรรม ความดีงาม รู้ผิดชอบชั่วดี มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและยึดถือปฏิบัติอยู่ในวิธีชีวิต 3.ด้านภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด (Drug-Free) รู้จักหลักเลี่ยงห่างไกลยาเสพติด
วิสัยทัศน์ มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่ดี 3 ด้าน คือ ด้านประชาธิปไตยด้านคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นไทย และด้านภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติดอย่างยั่งยืน
พันธกิจ 1.จัดการเรียนรู้ด้านประชาธิปไตย ด้านคุณธรรม จริยธรรมและความเป็นไทย และด้านภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด 2.ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานสถานศึกษาสู่ระดับ 3 ดี
ยุทธศาสตร์ 1.สถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการที่ดี มุ่งมั่นพัฒนาโดยยึดหลักธรรมาภิบาล 2.มีการจัดการเรียนการสอนและจัดกิจกรรมที่เน้นการสร้างองค์ความรู้และคุณลักษณะ 3 ดี แก่ผู้เรียน 3.จัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศการทำงานให้เป็นแบบอย่างที่ดีเอื้อต่อการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียน
ประเด็นยุทธศาสตร์ การยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
เป้าประสงค์ 1.ผู้เรียนได้รับการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์อย่างมีคุณภาพและมาตรฐานตามนโยบาย 3 ดี ด้านประชาธิปไตย ด้านคุณธรรม จริยธรรมความเป็นไทย และด้านภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด 2.สถานศึกษาได้รับการรับรองคุณภาพและมาตรฐานระดับ 3 ดีด้านประชาธิปไตย ด้านคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นไทย และด้านภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด
ตัวชี้วัดและเป้าหมาย 1.ร้อยละของจำนวนผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพสถานศึกษา 3 ดี (ร้อยละ 80) 2.ร้อยละของจำนวนครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา มีองค์ความรู้และการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพสถานศึกษา 3 ดี(ร้อยละ 80) 3.ร้อยละของจำนวนสถานศึกษาที่มีการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียนตามเกณฑ์คุณภาพระดับ 3 ดี (ร้อยละ 100) 4.ร้อยละของจำนวนสถานศึกษาที่ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพระดับ3 ดี (ร้อยละ 80) 5.ร้อยละของจำนวนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มีระบบบริหารจัดการความรู้และให้การสนับสนุนการดำเนินงานของสถานศึกษาจนผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพสถานศึกษา 3 ดี (ร้อยละ 80)
กลยุทธ์ 1.เร่งรัดพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียนทุกระดับ 2.จัดการเรียนรู้ด้านประชาธิปไตย ด้านคุณธรรม จริยธรรมและความเป็นไทย และด้านภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด ในระบบการศึกษา 3.พัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีองค์ความรู้และทักษณะการจัดกิจกรรมที่มีคุณภาพ 4.พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อเพื่อการเรียนรู้ 5.ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาพัฒนาเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ 3 ดี
หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการ
ส่วนราชการ/หน่วยงาน
บทบาทหน้าที่
สำนักงานรัฐมนตรี
-ประสานการกำหนดนโยบายสู่การปฏิบัติ-ประสานการติดตามผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบาย
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
-กำหนดแผนยุทธศาสตร์และแนวทางการดำเนินงานตามนโยบายสถานศึกษา 3 ดี-จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางการดำเนินงานตามนโยบายสถานศึกษา 3 ดี-พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ 3 ดี-สนับสนุนให้ระบบเครือข่ายในพื้นที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน-กำกับติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
-จัดทำเกณฑ์ประเมินมาตรฐานคุณภาพ 3ดี ให้เป็นเกณฑ์มาตรฐานระดับประเทศ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
-จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางการดำเนินงานตามนโยบายสถานศึกษา 3ดี-พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ 3ดี-สนับสนุนให้ระบบเครือข่ายในพื้นที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน-กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานสถานศึกษาในสังกัด
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
-จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางการดำเนินงานตามนโยบายสถานศึกษา 3ดี-พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ 3ดี-สนับสนุนให้ระบบเครือข่ยในพื้นที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน-กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานสถานศึกษาในสังกัด
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
-จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางการดำเนินงานตามนโยบายสถานศึกษา 3ดี-พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ 3ดี-สนับสนุนให้ระบบเครือข่ยในพื้นที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน-กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานสถานศึกษาในสังกัด
แนวทางการดำเนินงานนโยบายสถานศึกษา 3 ดี
หลักการ 1.สถานศึกษาทุกระดับ ทุกสังกัด ต้องจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามนโยบาย 3ดี ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านประชาธิปไต (Democracy) ด้านคุณธรรม จริยธรรมและความเป็นไทย (Decency) และด้านภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด (Drug-Free) 2.เมื่อดำเนินการจัดกิจกรรมเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพที่กำหนด ให้เสนอหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายในพื้นที่ พิจารณาคัดเลือกตามลำดับจนถึงกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อขอรับใบประกาศเกียรติคุณจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 3.เกณฑ์การประเมินคุณภาพสถานศึกษา 3 ดีจะพิจารณาคัดเลือกโดยผ่านการรับรองจากคณะกรรมการสถานศึกษา องค์กรหรือหน่วยงานในพื้นที่ชุมชน และหน่วยงานต้นสังกัด ตามลำดับ
ขั้นตอนการดำเนินงานคัดเลือกสถานศึกษา 3ดี 1.จัดทำรายละเอียดเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพสถานศึกษา 3ดี (3D) โดยพิจารณาจากองค์ประกอบ ดังนี้ 1.1มีการพัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรในการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา 1.2มีการจัดการเรียนการสอนและจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 1.3ผู้เรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาตนเองและมีผลการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง 1.4ชุมชน องค์กร หรือเครือข่ายในพื้นที่มีส่วนร่วม 2.กำหนดแผนการดำเนินงาน 2.1ประกาศนโยบายและแนวทางการดำเนินโครงการ 2.2จัดกิจกรรมประกวดตราสัญลักษณ์และเรียงความเรื่องนโยบายสถานศึกษา 3ดี (3D) 2.3กำหนดเกณฑ์การประเมินมาตรฐานและคุณภาพสถานศึกษา 3 ดี 2.4หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายระดับเขตพื้นที่ เขตตรวจราชการพิจารณาคัดเลือกเพื่อค้นหาสถานศึกษาแบบอย่าง 2.5จัดกิจกรรมนำเสนอผลการดำเนินงานของสถานศึกษาเพื่อขยายผล 2.6มอบหมายผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษา ตรวจติดตามและประเมินผลการจัดกิจกรรมโครงการของสถานศึกษา 2.7ประกาศผลการพิจารณาคัดเลือกสถานศึกษาและจัดพิธีมอบรางวัล 3.ดำเนินการตามแผนการดำเนินงาน 3.1เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ 3.2สร้างการมีส่วนร่วมโดยจัดประกวดตราสัญลักษณ์ ให้นักเรีนนักศึกษาเสนอผลงาน เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายในการรณรงค์ 3.3ดำเนินการคัดเลือกและประเมินผล โดยมอบหมายความรับผิดชอบในทุกระดับ ดังนี้ ระดับจังหวัด มอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขตดำเนินการคัดเลือกและประเมินผลสถานศึกษาทุกระดับ ทุกสังกัด ระดับเขตตรวจราชการ มอบหมายให้ สำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการกการศึกษาทุกเขต ดำเนินการคัดเลือกและประเมินผลสถานศึกษาภายในเขตรวจราชการ โดยมีผู้ตรวจราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พร้อมทั้งผู้แทนขององค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นคณะกรรมการ ระดับประเทศ มอบหมายให้องค์กรหลักและหน่วยงานที่มีสถานศึกษาในสังกัดร่วมดำเนินการ โดยมีสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นฝ่ายเลขานุการ
แนวทางกิจกรรม เป็นกิจกรรมเชิงลึกที่นำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ที่มุ่งเป้าหมายทำให้ผู้เรียนมีประชาธิปไตย ต่อต้านการทุจริต ซื้อสิทธิ์ขายเสียง อยู่ในมโนสำนัก รู้ผิดชอบชั่วดี มีวิถีปฏิบัติอันดีงานในชีวิตจริง และมีส่วนร่วมต่อต้านยาเสพติดอย่างจริงจัง
หลักการจัดกิจกรรม 1) กำหนดในแผนงาน/โครงการประจำปีของสถานศึกษา 2) สอดแทรงในเนื้อหาวิชาในการจัดกลุ่มสาระเรียนรู้ 3) มีการส่งเสริมการจัดกิจกรรมที่ครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน 4) ดำเนินการแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน ท้องถิ่น
ตัวอย่างกิจกรรม 1.กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย 1) จัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาและชุมชน เช่น เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรม อบต.น้อย/เทศบาลน้อย จัดให้สถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ 2) การดำเนินงานสภานักเรีน นักศึกษา/กรรมการนักเรีน นักศึกษา 3) การจัดค่ายประชาธิปไตย/กิจกรรมประชาธิปไตยลงสู่ชุมชน 4) การส่งเสริมกิจกรรมสร้างสำนึกความรักชาติ 5) นำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษา 2.กิจกรรใส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นไทย 1) จัดกิจกรรมพัฒนาคุณธรรมที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา วัด ศาสนสถานและชุมชน เช่น ส่งเสริมครูพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษา จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กิจกรรมจิตอาสาค่ายพุทธบุตร พุทธธรรม ค่ายคุณธรรมจริยธรรม จัดให้สถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ทางศาสนา 2) จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการนิยมไทย ประวัติศาสตร์ชาติไทย หรือความภูมิใจในความเป็นไทย 3) มีการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3.กิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 1) มีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรีน เช่น การคัดกรองกลุ่มเสี่ยงการช่วยเหลือแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ทำให้จำนวนนักเรีนย นักศึกษาที่มีพฤติกรรมเสี่ยงลดลง 2) ส่งเสริมกิจกรรมที่เหมาะสม เช่น กิจกรรมนักเรียนแกนนำ ครูแกนนำ กิจกรรมรณรงค์เพื่อ การไม่สูบบุหรี่ (สถานศึกษาปลอดบุหรี่) กิจกรรม/ชมรม TO BE NUMBER ONE การประกวดดนตรี แข่งขันกีฬา เปิดเวที ให้แสดงออก การจักนิทรรศการความรู้ 3) การบริหารจัดการด้านสวัสดิศึกษา เช่น การขจัดมุมอับลัดตา 4) มีแหล่งเรียนรู้ด้านยาเสพติด 5) มีการประสานความร่วมมือการดำเนินงานร่วมกับขุมชน /ท้องถิ่น
ระยะเวลาดำเนินการ 1.ประกาศ/เริ่มดำเนินงานตามนโยบาย มิถุนายน 2552 2.ประกวดตราสัญลักษณ์/เรียงความ มิถุนายน-กรกฏาคม 2552 3.จัดทำเกณฑ์มาตรฐาน/ประกาศใช้ มิถุนายน 2552 4.คัดเลือกสถานศึกษาแบบอย่าง กันยายน-ตุลาคม 2552 5.ประเมินผล/คัดเลือกสถานศึกษาตามเกณฑ์/มอบรางวัล กุมภาพันธ์-มีนาคม 2553

แก้ไขล่าสุด (วันพุธที่ ๐๒ กันยายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๗:๒๘ น.)

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

งานบริการคอมพิวเตอร์

หน่วยที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
หน่วยที่ 2 การทำงานของคอมพิวเตอร์
หน่วยที่ 3 ขั้นตอนการใช้คอมพิวเตอร์
หน่วยที่ 4 ส่วนประกอบแผงวงจรหลัก
หน่วยที่ 5 อุปกรณ์รับขอมูลและเก๊บข้อมูล
หน่วยที่ 6 ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์
หน่วยที่ 7 การติดตั้งสายไฟสายสัญญาณ
หน่วยที่ 8 ติดตั้งอุปกรณ์แสดงผล
หน่วยที่ 9 การจัดการฮร์ดิสก์
หน่วยที่10การติดตั้ระบบปฏิบัติงาน
หน่วยที่11การติดตั้งไดรเวอร์
หน่วยที่12รักษาความสะอาดคอมพิวเตอร์